อีกหนึ่งกรณีของ “เอเลี่ยนสปีชีส์” ที่น่าสนใจคือเรื่องราวของเจ้า “ปลาซัคเกอร์” ที่เจ้าของบ่อปลาแห่งหนึ่ง ถึงกับอึ้งเมื่อสูบน้ำออกจากบ่อ แต่กลับเจอแต่ปลาซัคเกอร์เป็นตัน ซึ่งถือเป็นสัตว์ที่อันตรายต่อระบบนิเวศปลาอย่างมาก จึงต้องตัดสินใจจับขึ้นมาทิ้งบนบกทั้งหมดเพื่อให้ตาย
วันนี้ทีมข่าวพีพีทีวีจึงอยากจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ “เอเลี่ยนสปีชีส์” ว่าจะมีผลกระทบต่อระบบนิเวศอะไรของเราบ้าง และในประเทศไทยมีเอเลี่ยน สปีชีส์อะไรบ้าง
เอเลี่ยนสปีชีส์ คืออะไร
เอเลี่ยนสปีชีส์ (Alien Species)คือสิ่งมีชีวิจต่างถิ่นที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดจากพื้นที่นั้นๆ หรือสิ่งแวดล้อมนั้นๆ แต่ถูกนำเข้ามา จนเกิดการแพร่กระจายพันธุ์ และสร้างผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศเดิม
แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลง ย่อมมีทั้งเรื่องดีและเรื่องเสีย เอเลี่ยนสปีชีส์ก็เช่นเดียวกัน มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ ชนิดแรกคือไม่ทำร้ายไม่รุกรานสัตว์อื่น และ ชนิดที่สองคือชนิดที่รุกราน ทำร้ายสัตว์ และทำร้ายสิ่งแวดล้อมเดิมที่เข้าไปอาศัย
เอเลี่ยนสปีชีส์ในไทย มีอะไรบ้าง
ปลาทอง
ปลาทอง ถือเป็นสัตว์น้ำต่างถิ่นที่ไม่รุกรานสัตว์ หรือสิ่งแวดล้อมอื่น ปลาชนิดนี้เริ่มต้นนำเข้ามาจากจีนและญี่ปุ่นในรูปแบบของเครื่องบรรณการ เป็นของขวัญ หรือของกำนัล ปัจจุบันกลายเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม และถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจของประเทศไทย มีการพัฒนาสายพันธุ์ และส่งออกไปยังต่างประเทศ
ปลานิล
ปลานิล เป็นสัตว์น้ำชนิดต่างถิ่น ชนิดไม่รุกรานสัตว์อื่นในระบบนิเวศเดิม ปลานี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ลุ่มแม่น้ำไนล์ แต่เมื่อครั้นสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโต ทรงดำรงพระอิสริยยศมกุฏราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อนถวายแด่พระบาทสมเด็จพระชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2508 ปลานิลจึงได้เข้ามายังประเทศไทยครั้งแรก
ต่อมาเนื่องด้วยปลาชนิดนี้เจริญเติบโตได้ดี เลี้ยงง่าย และเนื้อมีรสชาติดี เหมาะที่จะเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่สำคัญของคนไทย จึงพระราชทานปลาที่เพาะเลี้ยงจากสวนจิตรลดาจำนวน 10,000 ตัว แก่กรมประมง เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2509 เพื่อขยายพันธุ์และแจกจ่ายแก่ประชาชนเพื่อนำไปเลี้ยงในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ และสามารถส่งออกนำรายได้เข้าประเทศมีมูลค่าถึงประมาณ 900 ล้านบาทต่อปี
อย่างไรก็ตามแม้ปลานิลจะไม่รุกรานสัตว์อื่นในระบบนิเวศ แต่ก็ไม่ควรปล่อยลงสู่แหล่งน้ำอีก เนื่องจากระบบนิเวศที่สมบูรณ์ สามารถที่จะทนการรบกวนได้ แต่ระบบนิเวศที่ถูกทำให้อ่อนแอลงจากการทำลายอย่างการสร้างเขื่อน ทำลายป่าริมน้ำ ฝาย ขุดลอก ถม ทำลายตลิ่งธรรมชาติ โดยไม่คำนึงถึงการเป็นระบบนิเวศของแหล่งน้ำเช่นในปัจจุบัน จะทำให้ระบบนิเวศน์ของไทยอ่อนแอลงและถูกรุกรานทำลายได้ง่ายยิ่งขึ้น
ผักตบชวาคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ผักคุ้นหน้าคุ้นตา ที่ถือเป็นพืชต่างถิ่นชนิดรุกราน ที่ถูกนำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซีย ในฐานะพืชประดับเพื่อความสวยงาม แต่ต่อมากลับกลายมาเป็นวัชพืชที่มีอายุยืน อยู่ได้ทุกสภาพน้ำ แถมขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว จนเป็นสาเหตุให้เกิดน้ำเน่าเสีย และขัดขวางเส้นทางการเดินเรือหรือการคมนาคมอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
แมวจรจัด
สัตว์น่ารักที่หลายคนมักไม่คิดว่าเป็นสัตว์ต่างถิ่น แต่ในกรณีศึกษาจากประเทศออสเตรเลียกลับพบว่า ภายใน 1 วันแมวล่านกได้ 1 ล้านตัว โดยนกที่ตกเป็นเหยื่อทั้งหมดเป็นนกประจำถิ่นที่พบในธรรมชาติ และเป็นนกชนิดที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์กว่า 70 ชนิด ซึ่งเฉลี่ยเป็นแมวจรจัดล่านกปีละ 316 ล้านตัว และแมวที่มีเจ้าของปีละ 61 ล้านตัว ขณะที่ประเทศอังกฤษมีสถิติคนเลี้ยงแมวราว 7.2 ล้านตัว และสมาคมอนุรักษ์ของสหราชอาณาจักร (RSPB) ประเมินว่าแต่ละปีแมวฆ่านกในธรรมชาติปีละมากกว่า 27 ล้านตัว
อย่างไรก็ตามในประเทศยังไม่มีการศึกษาผลกระทบจากแมวบ้านให้เห็นอย่างจริงจัง แต่แนะนำว่าหากใครเลี้ยงแมวอยากให้เลี้ยงในระบบปิดจะดีที่สุด
ปลาซัคเกอร์
สัตว์ต่างถิ่นชนิดรุกรานระบบนิเวศ ที่ถูกนำเข้ามาในฐานะสัตว์ทำความสะอาดตู้ ทำให้กลายเป็นไอเท็มยอดฮิตที่สาวกคนเลี้ยงปลาต้องมี
แต่เจ้าปลานี้มีนิสัยดุร้าย หากมีอาหารไม่เพียงพอ มักจะเข้าทำร้ายและกินสัตว์อื่นเป็นอาหาร นอกจากนี้ปลาซักเกอร์ยังโตเต็มที่ได้ถึง 2 เมตร จนกลายเป็นปัญหาของคนเลี้ยงปลา แถมยังทนต่อสภาพแวดล้อมมาก แพร่พันธุ์ได้เร็ว ด้วยเหตุนี้ปลาซัคเกอร์จึงขึ้นไปอยู่ในลิสต์รายชื่อ “ไม่ควรนำเข้า” และ “ไม่ควรปล่อยลงในแหล่งน้ำ”
อย่างไรก็ตามปลาซัคเกอร์สามารถนำมากินได้ และทำอาหารได้หลากหลาย แต่อาจจะไม่ได้รับความนิยมเท่าหอยเชอรี่ เพราะรูปร่างหน้าตาของเจ้าปลาชนิดนี้อาจจะไม่ได้ชวนให้ลิ้มลองเท่าไร แต่หลายคนที่เคยชิมกลับบอกว่าทำให้ติดใจ
หอยเชอรี่
สัตว์ต่างถิ่นชนิดรุกรานระบบนิเวศ รูปร่างคล้ายหอยโข่ง แต่มีเปลือกสีอ่อนกว่า แถมมีชื่อเรียกน่ารักกว่า ในตอนแรกถูกนำเข้ามาเพื่อนำมากำจัดตะไคร่น้ำและเศษอาหารในตู้ปลา จนกลายเป็นไอเท็มยอดฮิตที่ผู้คนเลี้ยงกัน
และภายหลังมีคนคิดจะเพาะขายเพื่อเป็นสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการบริโภค เนื่องจากสถาบันหัวใจและปอดแห่งชาติของแคนาดา ระบุว่า หอยเชอรี่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาการมากมาย ทั้งมีโปรตีนสูง มีแร่ธาตุ และวิตามินเยอะ ไม่ว่าจะเป็น วิตามิน A, B1, B2, B3 และ วิตามิน D
แต่หอยเชอรี่กลับสร้างปัญหา สามารถกัดกินต้นกล้าข้าวในนาได้เป็นไร่ แถมขยายพันธุ์ได้เร็ว กำจัดเท่าไรก็ไม่หมดไม่สิ้น จึงไม่แนะนำให้ปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ และในปัจจุบันจึงกลายเป็นอาหารของผู้คน เอาไปใส่ใน "ตำป่า" ให้รสแซ่บนัวขึ้น
ปลาดุกอัฟริกัน (บิ๊กอุย)คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ปลาสุดฮิตที่คนไทยหลายคนนิยมปล่อยลงแม่น้ำ เพื่อเป็นการทำบุญมากที่สุด แต่ที่จริงแล้วปลาชนิดนี้ถือเป็นปลาต่างถิ่นชนิดรุกรานระบบนิเวศ เพราะปลาดุกมีความทนทาน แถมกินไม่เลือก หากปล่อยลงแหล่งน้ำ จึงมักยึดครองพื้นที่จนทำให้สัตว์สายพันธุ์ท้องถิ่นต้องสูญพันธุ์ และทำให้ระบบนิเวศความหลากหลายทางชีวภาพต้องเสียความสมดุล นอกจากนี้ปลาดุกยังเป็นพาหะของปรสิตหรือพยาธิได้อีก เช่น โรคหนอนสมอ และราปุยฝ้าย ดังนั้นแล้วจึงไม่แนะนำให้นำเข้าหรือปล่อยปลานี้ลงแหล่งน้ำจะดีที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก : มูลนิธิสืบนาคะเสถียร, มหิดล แชนแนลและ เฟซบุ๊ก สัตว์ไรนิ
เปิดโปรแกรมวอลเลย์บอลหญิงเนชั่นส์ ลีก 2024 รอบแรก ครบทุกนัด
สัญญาณเตือน “ไขมันพอกตับ” จุดเริ่มต้นสารพัด ตับแข็ง-มะเร็งตับ
พยากรณ์อากาศล่วงหน้า 17 พ.ค.นี้เริ่มต้นฤดูฝน เตรียมรับมือพายุถล่ม